Tremolo layout


ขอต่อเรื่อง layout ให้จบก่อนแล้วกันนะครับ กำลังติดลม แล้วค่อยเริ่มเรื่องอื่นต่อ

ที่จริงแล้ว layout ของ tremolo นั้นมีไม่ค่อยมากเท่าของ diatonic แต่ก็มีจุดที่พอจะมาแนะนำได้อยู่เหมือนกัน

เริ่มที่ layout ที่เป็นมาตรฐานของบ้านเราก็แล้วกันครับ

ก็มีโน้ตเรียงกันตามรูปเลยครับ เหมือนที่เคยบอกกันในตอน แนะนำโน้ตบน Harmonica

ก็คือ เป่าเป็น C E G และ ดูดเป็น d f a b

ดังนั้น เราจะสามารถเล่นคอร์ดได้สองคอร์ด คืออะไรน่าจะเดากันได้นะ

.

.

.

C major (C E G) และ D minor (d f a) นั่นเอง

การเรียงโน้ตแบบนี้จะขอเรียกว่า การเรียงแบบตะวันออกก็แล้วกัน เพราะ harmonica จากทางตะวันออกเช่น จีน หรือ ญี่ปุ่น จะเรียงแบบนี้เป็นหลัก แถมประเทศเหล่านี้ก็นิยมเล่น tremolo กันซะด้วย บ้านเราเลยรับเข้ามาเต็มๆ

ต่อมาก็ต้องพูดถึงการเรียงแบบตะวันตกกันบ้าง

การเรียงแบบตะวันตกจะแตกต่างกับของตะวันออก ดังนั้นถ้าใครเล่น tremolo ของ Hohner ก็อาจจะงงในช่วงแรกได้

layout จะเป็นดังนี้

ก็ให้สังเกตุทั้งสองแบบ โดยเฉพาะตรงที่สีแดงนะครับ

จะเห็นว่า โน้ตเป่าจะเป็น C E G ตามสูตร แต่โน้ตดูดเริ่มไม่เหมือนกันแล้ว

โน้ตดูดจะเป็น d g b| d f a  b| d f a b| …..

พอจะคุ้นๆกันบ้างไหมครับ การเรียงโน้ตแบบนี้

.

.

.

ก็เหมือนกับ diatonic อย่างกับก็อปกันมาเลย

ดังนั้น ข้อดีของคนที่ซื้อยี่ห้อจากทางตะวันตก ก็จะเล่นโน้ตกันตามแบบ diatonic กันเลย (แต่ไม่ใช่ไปซื้อ Hohner รุ่นที่เป็น Japanese layout มาล่ะ)

คอร์ดก็จะเล่นได้ทั้ง C, G (7) และ Dm เหมือนเดิม

แต่ข้อเสียก็คือ มันไม่มีโน้ต F, A มาให้ตั้งแต่แรก แถมการ bend เจ้า tremolo ก็ดูเหมือนจะยากกว่า diatonic อยู่เล็กน้อย

ก็เอาเป็นว่า แล้วแต่คนชอบก็แล้วกัน อยากใช้แบบเล่นง่าย หรือ เล่นได้หลากหลาย ก็เลือกเอาตามสะดวก

ขอแถมส่งท้ายอีก layout ก็แล้วกัน

ก็จะเป็น layout แบบ minor แต่จะเป็น harmonic minor นะ

ยังจำ harmonic minor scale กันได้ใช่ไหม ถ้าไม่ได้ก็กลับไปดูที่ Diatonic layout:minor

ซึ่งที่จริงแล้ว minor scale ยังมีอีกหลายแบบ เช่น melodic minor, jazz melodic minor เป็นต้น

แต่ที่เมืองนอกแล้ว harmonic minor จะเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากความที่มันมี harmony นั่นเอง

ยกตัวอย่างในคีย์ A

A natural minor      = A  B  C  D  E  F  G  A

A harmonic minor = A  B  C  D  E  F  G# A

คอร์ดมาตรฐานที่ใช่บ่อยก็คือ I IV V (ยังจำ blues กันได้หรือเปล่า ที่มี G C D ไง ถ้านึกไม่ออกก็กลับไปที่ ลองเล่นคอร์ด Blues

ใน A natural minor ก็จะเป็น Am, Dm, Em ส่วนใน A harmonic minor ก็จะมี Am, Dm, E(7)

ถ้าใครลองเล่นคอร์ดตามนี้ ก็จะรู้สึกว่า เวลาเล่น E หรือ E7 แล้วมันควรจะต้องตามด้วย Am ไม่เหมือนกับ Em ที่ไม่เด่นเท่า อันนี้แหละที่เขาเรียกว่า harmony

ออกนอกเรื่องไปนาน เกือบลืมลงรูปเลย

ก็จะเรียงโน้ตประมาณนี้ เป่าเป็น A C E

ส่วนดูดก็เป็น b d f g#

ถ้าจะเทียบกับ major ก็แทบจะเหมือนกันในหลักการ คือ

เป่าเป็นโน้ตตัวที่ 1 3 5 ของสเกล ส่วนดูดก็เป็นตัวที่ 2 4 6 7 ของสเกลนั่นเอง

ส่วนคอร์ดก็ไม่ต้องสนใจมาก เพราะที่น่าใช้ก็มีแค่ A minor (A C E) ตอนเป่า

ส่วนตอนดูดจะเป็น diminished chord อย่างเดียว ซึ่งใช้ยากกว่า ไม่เหมือนกับ minor key ของ diatonic ที่เล่นคอร์ดได้มากกว่า

ก็เอาเป็นว่ามาเล่าสู่กันฟังก็แล้วกัน

4 responses to “Tremolo layout

  1. Pingback: เล่น Diatonic แต่คิดถึง Tremolo มาทางนี้เร้ววว « Harmonicafe's Blog

  2. Pingback: เล่น Diatonic แต่คิดถึง Tremolo มาทางนี้เร้วว « Harmonicafe's Blog

  3. – จาก Layout ความแตกต่างทำให้เข้าใจการเลือกซื้อ Tremolo harmonica มากขึ้น ดูแล้ว แบบตะวันออก น่าจะดีกว่า ตรงที่มีเสียงมาให้ครบว่า คือมีเสียง F และ A มาให้ใน Low Octave

    • แล้วแต่ชอบครับ ถ้าอยากเล่นง่ายก็ต้องแบบตะวันออก แต่ถ้าติด diatonic ก็ต้องแบบตะวันตกครับ แต่คอร์ดที่ได้ก็จะไม่เหมือนกันด้วยนะครับ แบบตะวันตกจะได้ chord V (V7) ซึ่งใช้บ่อยกว่า chord ii minor ครับ

Leave a comment